วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ปรับย่อ งอขา เพื่อ Cadence

การปรับเปลี่ยนท่าวิ่ง หรือเทคนิคการวิ่ง
     เรื่องของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หลายคนรู้แล้วว่าจะต้องใช้การเทน้ำหนักไปข้างหน้าเพื่อจะวิ่ง ส่วนต่อไปที่จะทำให้เราสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เร็วคือการเคลื่อนไหวส่วนขา
Cadence หรือรอบขาในการก้าว  เป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งที่ดี นักวิ่งแนวหน้าจะให้ความสำคัญกับเรื่องสเตปการก้าวเท้า โดยที่ได้ยินมาก็จะอยู่ที่ 180 ก้าว ต่อนาที หลายคนพยายามแล้วแต่ก็ไม่สามาถไปถึงจุดนั้นเสียที
     วันนี้ขอนำเสนอวิธีที่จะเพิ่มความเร็วโดยการใช้ Cadence
สักงเกตุจากเส้นสีขาวช่วงขาจากภาพ สมัยดึกดำบรรพ์เราเห็นว่าร่างกายของมนุษย์เราส่วนที่เป็นขาจะมีการย่อหรืองอในการเดินหรือวิ่ง แต่ปัจจุบันหลังมีสังคมที่เป็นภาพลักษณ์ขึ้นมา มนุษย์ก็ได้ปรับท่าทางการเดินใหม่ ประมาณนายแบบในแคทวอล์คเลยทีเดียว พยายามยืดตัว เหยียดขามากขึ้น
เพื่อให้สูงสง่า ดูภูมิฐานกว่ายุคดึกดำบรรพ์ จนนำท่าเดินเหล่านี้มาใช้ในการวิ่งไปในปริยาย ทีนี้เรามาอธิบายสิ่งที่เราจะประบเปลี่ยนท่าวิ่งของเรากัน

ภาพที่หนึ่ง 
 ยุคดึกดำบรรพ์ สิ่งที่ควรค่ารักษาไว้คือการย่อเข่า งอขา ให้เก็บส่วนนี้ไว้แล้วขจัดออกในส่วนที่เป็นแกนลำตัว หรือ Core body ที่งอ ตามภาพจะเห็นว่าคนลุงยุคหินจะเดินหลังงอ ซึ่งติดมาจากสัตว์บรรพ์บุรุษของเรานั่นเอง

ภาพที่สอง
 กลับกันกับภาพแรก สิ่งที่ควรค่ารักษาไว้คือการรักษาส่วนที่เป็นแกนลำตัว หรือ Core body ที่ตรง ตามภาพ ส่วนที่ต้องแก้ไขคือการยืดขาเหยียดมากเกินไป ให้ปรับมาย่อ งอเข่าเฉกเช่นลุงยุคหิน

ภาพที่สาม เป็นการรวมการย่อเข่างอขาของคุณลุงยุคหินมาประกอบเข้ากับการยืดตัวตรงตั้งแต่สะโพกของนายแบบนิตยสาร เราก็จะได้ท่าวิ่งที่ดูจะตลกๆแบบนี้ แต่อย่าเพิ่งอายไป ลองวิ่งด้วยท่านี้ดู อย่าลืมทิ้งน้ำหนักไปข้างหน้าเพื่อออกตัว
ไม่ใช้การเตะขาเพื่อเคลื่อนที่ไป จำให้ขึ้นใจว่า "ลำตัวต้องไปก่อนขาเสมอ" ขามีหน้าที่มารองรับน้ำหนักตามมา

ผลลัพธ์ที่จะได้ตามมาคือรอบขาคุณจะเร็วขึ้น ยิ่งถ้าสปริงเท้าคุณดีการวิ่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นไปอีก สิ่งที่จะได้ตามมา ส่วนของหน้าขา น่อง ก้นคุณก็จะได้รับการฝึกไปในตัวด้วย

ปล.ลองใช้ท่านี้มาซ้อมเดินจะช่วยให้ร่างกายและสมองซึมซับท่าวิ่งนี้ได้ดีขึ้น จะรู้สึกว่าเดินเร็วขึ้น แรกๆจะรู้สึกว่าเมือยหน้าขา ก้นและน่อง กล้ามเนื้อต่างๆจะแข็งแรง ไม่เชื่อลองดู !!!!
   จากคนอ้วน สุขภาพไม่ดี เข้าสู่สังคมนักวิ่ง กลายเป็นส่วนหนึ่งของทีมจัดงานวิ่ง
   มุมมองจากมุมนักวิ่งเสียเงินสมัคร ได้สัมผัส เรียนรู้ระบบการทำงานของทีมจัดงานวิ่งมันไม่ง่ายอย่างมุมมองของนักวิ่ง กับการเปลี่ยนรูปแบบจากนักวิ่งมาเป็นผู้ร่วมจัดงาน 

   งานวิ่ง Ko Kut Run Fun Around งานที่ได้ร่วมทีมทำงาน เป็นที่ปรึกษาให้กับสมาคมการท่องเที่ยวเกาะกูด
งานนี้ได้ประสบการณ์หลายอย่างมากมาย ความอดทน การเรียนรู้ การประสานงาน ความรับผิดชอบ ซึ่งบางครั้งก็อาจทำไม่ได้ดีอย่างที่คาดหวังไว้




หลังจบงานได้เห็นบรรยากาศหลายๆอย่าง ได้เห็นหน่วยงานราชการ อย่างตัวจังหวัด, ททท, อบต. เป็นต้น เห็นคุณประโยชน์ของกิจกรรมการออกกำลังกายครั้งนี้และตอบรับให้การสนับสนุน, ทีมงานของสมาคมทำงานกันอย่างหนัก ทั้งสร้างเวที ซุ้ม, จัดหาอาหาร, จัดปาร์ตี้เลี้ยงต้อนรับนักวิ่งหา อีกทั้งรางวัลมากมายแจกในงาน, ชาวบ้านคนบนเกาะกูดออกมาช่วยเติมแต่งให้งานมีชีวิตชีวา ออกมาตั้งโต๊ะให้น้ำ ส่งเสียงเชียร์ ส่งผลให้นักวิ่งมีรอยยิ้ม สนุกสนาน และที่สำคัญ ผมได้เห็นคนบนเกาะออกมาร่วมวิ่ง ออกกำลังในงาน เป็นภาพที่เราไม่ได้คิดจะเห็น เพราะมัวแต่มองถึงนักวิ่งที่จะมาร่วมงาน

   ผลจากการร่วมงานงานนี้บอกได้เลยว่าสนุก มีความสุขมากเมื่อหันกลับไปมองภาพที่เราได้พบผ่านมา อุปกสรรคที่เข้ามามากมาย ฝนที่ต้อนรับตั้งแต่ขับรถจากกรุงเทพ การทำงานบนเกาะไม่กี่วันแต่ต้องเปียกฝนตลอดการทำงาน เหงื่อที่เปียกโซมกาย ยุงป่าที่มาพร้อมกับฝนคลั่ง 

สารพัดกับสิ่งที่เจอ แต่เพราะสิ่งที่เราทำ มันทำจากความรัก จากหัวใจ ความตั้งใจ และมีเพื่อนร่วมงานที่น่ารัก อดทน เข้าใจ และพร้อมจะลุยไปด้วยกัน 

อุปสรรคนั้นก็ไม่ทำให้เราหวั่น และนำมาซึ่งความทรงที่ประทับใจ และความทรงจำนี้จะอยู่ไปกับเราเสมอ
#KoKutRunFunAround2017 #LoveKoKut #FeeturingTeam #ThNR

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เมื่อธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยี


  หลังที่วิ่งเท้าเปล่าจนชินมาถึงเกือบจะห้าปี อุปกรณ์ป้องกันฝ่าเท้าจากของมีคมและสภาพพื้นถนนขรุขระ ที่จะนำมาใช้หรือใส่บ้างก็มีหลักๆแค่ Vibram Fivefingers และก็มีบ้างที่ทดลองวิ่งด้วย รองเท้าแตะทำมือจากน้องในกลุ่ม ไม่ก็หยิบรองเท้าแตะสีชมพู ผลิตด้วยโฟมผสมจากร้านไดโซะ คู่ละ หกสิบบาท มาวิ่ง ซึ่งระยะ 10 กิโลขึ้นไปก็ไม่มีปัญหา แถมฝึกการวิ่งได้ดีอีกด้วย เพราะรองเท้าไม่มีรัดส้น จนมาได้ยินว่ามีถุงเท้าที่สามารถนำมาวิ่งได้เลย โดยจะมีส่วนผสมของผ้ากับเพื่อป้องกันการบาดจากของมีคม หรือสภาพถนนที่ขรุขระได้



   "ถุงเท้า fiber glass" เส้นใยตัวเดียวกับที่ทำสายร่มชูชีพที่ใช้จอดเครื่องบิน F16 เหนียวกว่าเหล็ก 15 เท่า ไม่ขาด 

     หืมมม มันจะมีด้วยหรอ ถุงเท้า มีดกรีดไม่เข้า ความเหนียว แข็งแรง แต่ยืดหยุ่น ได้ยินก็อยากลองแล้ว ได้เห็นคลิปทดสอบแล้วก็อืม ไม่ใช่ไสยศาสตร์ละ มันคือเทคโนโลยี  เทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้นักวิ่งเท้าเปล่า หน้าใหม่ ที่อยากวิ่งเท้าเปล่าแต่กลัวโดนของมีคมอย่างเศษแก้ว เศษเหล็กบาด หรือนักวิ่งเท้าเปล่าหน้าเก่าที่อยากวิ่งโดยลดทอนความกังวลขณะวิ่งเพื่อทำความเร็วให้ดียิ่งขึ้น นวัตกรรมตัวนี้น่าจะเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้เลย 




    ทางทีมนักวิ่งเท้าเปล่าของกลุ่มรองเท้าหาย,ชมรม Bangkok Barefoot Run Club (BBRC) และ Thai Natural Run (ThNR) ได้มีโอกาสได้เข้าทดสอบ 
 

 ถุงเท้า "NAZA SOCK Ver.High Modulus รุ่น Demo"  มีพัฒนามาถึงปัจจุบันเป็รรุ่นที่สี่ ซึ่งจริงๆก็ไม่อยากเรียกว่าถุงเท้า แต่ก็ไม่รู้จะใช้คำไหนแทนดี  ถุงเท้ารุ่นที่ผลิตโดยคนไทย แหม่ ได้ฟังแล้วก็ชื่นใจว่าประเทศของเราก็มีบริษัทที่สามารถผลิตสินค้าที่มีเทคโนโลยีทัดเทียมต่างประเทศได้ ทางทีมงานของ NR Nanofiber Sports ก็ใจดี ให้โอกาสนักวิ่งของเราถึง 40 คน ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ การทดสอบในกิจกรรมก็คือการวิ่งใส่ถุงเท้า ในงานวิ่ง Emquatier Together Run 2017 มีสองระยะ 6 และ 10 กิโลเมตร





     เวลา 04:30 น.ทุกคนมารวมตัวกันหน้าบู้ท NR Nanofiber sports ลงทะเบียนเพื่อรับถุงเท้าคนละคู่ มีขนาดให้เลือก สองขนาด จากนั้นก็ถ่ายรูปหมู่ สัมภาษณ์เบื้องต้นเล็กน้อย หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันวิ่งตามระยะที่ตั้งใจจะทดสอบกัน ในวันนี้ผมเลือกทดสอบที่ระยะ 6 กิโล เพราะห่างสนามไปนาน  หลังปล่อยตัวระยะ 10 กฺิโล สิบนาทีก็เป็นเวลาปล่อยตัว เสียงพิธีกรประกาศปล่อยตัว กลุ่มนักวิ่งถุงเท้าเปล่าของเราก็ทะยอยวิ่งออกจากเส้น ยังไม่ทันจะพ้นหน้าห้าง ฝนก็ปรอยลงมาให้หายความอ้าวของอากาศ แต่ก๋ไม่มีผลอะไร กลุ่มเรายังคงวิ่งเล่น คุยไปเหมือนทุกครั้งที่จับกลุ่ม ก่อนจะเลี้ยวเข้าซอยสักพัก เท้าก็ได้รับการกระตุ้นจากสภาพผิวพื้นมะตอยที่หลุดร่อนโผล่มาด้วยเม็ดหินขนาดเท่าหัวนิ้วโป่ง ทักทายกันตั้งแต่ยังไม่พ้นหน้าห้างกันเลยทีเดียว  ถ้านักวิ่งหน้าเท้าเปล่าใหม่ๆผ่านจุดอาจจะมีร้องซี้ดซ้าดกันได้เลย   แต่ถุงเท้า NanoFiber ก็สามารถปกป้องฝ่าเท้าของเราได้ในระดับนึง ลดทอนความโหดร้ายของพื้นถนนไปได้ 5-10% เลย จากนั้นก็วิ่งไปตามทางตามประสาสายเม้า วิ่งไปคุยไป สภาพความอบในถุงเท้าก็มีบ้างเล็กน้อย 


วิ่งไปเรื่อยๆจนถึงสะพานข้ามคลองด้านหลังที่จะทะลุเพชรบุรีตัดใหม่ ก็ถือได้ว่าเป็นบดทดสอบของถุงเท้า รุ่น Demo นี้เลยทีเดียว ว่าจะมีอาการลื่น ท้ายปัดเมื่อขึ้นเนินหรือลงเนินมั้ยย ผลที่ได้คือออออ ผ่านจ้า ลื่นนิดๆ  คือนิดๆจริงๆ ทั้งขึ้นและลงสะะพาน เส้นทางหกกิโลเจอสะพานสองสะพาน ซึ่งถือว่าถุงเท้าตัวนี้ทำได้ดีครับ จากนั้นก็ต่อไปเรื่อยๆจนเข้าเส้นชัย
 
    เรามาสรุปเรื่องของถุงเท้ากันดีกว่าวันมีผลการทดสอบหรือความคิดเห็นในตัวถุงเท้า Nasa Nanofiber Demo รุ่นนี้บ้าง
        
- ผ้ามีการผสมผสานที่แน่น ในตัวเนื้อผ้า แต่ไม่แน่นเวลาสวมใส่ อาจจะมีอึดอัดบ้างในมุมมองของนักวิ่งเท้าเปล่าที่ถอดรองเท้าบ่อยๆจนชิน


- ถุงเท้าสามารถป้องกันสิ่งไม่พึงประสงค์ในระหว่างการวิ่งได้ดี ทั้งในส่วนของพื้นถนน และของมีคมในการทดลองนี้มีน้องในกลุ่มโดนเศษแก้วแตกซึ่งเล็กมากๆ มองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น ถ้าหากไม่ได้ใส่ถุงเท้าวันนี้คิดว่าจะต้องมีแผลกับไปบ้านแน่นอน ความสุขของการวิ่งของเราก็จะหายไปโดยเฉียบพลันนนน


- ความหนึบเกาะยึดกับพื้น ด้วยตัวถุงเท้ามีการผสมผสานเทคนโนโลยีต่างๆเข้ากับเนื้อผ้า ส่วนผสมของถุงเท้าต้องทำได้ในอัตราส่วนที่พอเหมาะที่จะตอบโจทย์ของความหนึบและแข็งแกร่ง การวิ่งที่ขึ้นลงสะพานในสภาพที่พื้นเปียกแฉะ มีอัตราการการลื่นที่น้อย ซึ่งข้อนี้เป็นข้อที่ชอบมาก- ความรู้สึกเป็นอิสระจากการวิ่งถูกลดทอนลงไปเพียงเล็กน้อย ความรู้สึกเหมือนเท้าเปล่ายังคงมีให้สัมผัสมากได้ถึง 92% 


สิ่งที่อยากนำเสนอ- การสร้างความรู้สึกให้เหมือนเท้าเปล่าจริงๆ ด้วยการทำถุงเท้าแยกนิ้วให้เป็นอิสระ เหมือนใส่ถุงมือ ส่วนนี้จะสร้างอารมณ์ของการวิ่งเท้าเปล่าได้อีก 4-5% 

- ตัวพื้นของถุงเท้าน่าจะมีสีดำ จะไม่เห็นรอยเปื่อนของถุงเท้า

    บทสรุปต่อไปคือส่วนของความทนทาน หรือระยะการใช้งานก็คงต้องทดสอบวิ่งต่อไป เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้จะตอบโจทย์ให้กับนักวิ่งเท้าเปล่าหน้าใหม่และเก่าๆอย่างเราๆได้หรือไม่ สุดท้ายนี้ผมก็ขอชื่นชมถุงเท้า และบริษัทผู้ผลิตที่พยายามสร้างสรรนวัตกรรมดีๆให้กับวงการวิ่งและปั่นบ้านเรา เป็นแรงใจให้ทีมงาน  NR Nanofiber Sports พัฒนาผลิตภัณฑ์ดีๆเทคโนโลยีล้ำๆให้กับวงการกีฬาบ้านเรา ให้พวกเราได้ใช้ของไทยโดยคนไทยต่อไปในอนาคตด้วยนะครับ ขอบคุณมากๆเลย


x

สิ่งที่ชอบในตัวผลิตภัณฑ์ตัวนี้ คือ

- สร้างความมั่นใจในการวิ่งให้กับนักวิ่ง หลายครั้งที่นักวิ่งจะหยิบรองเท้ามาใส่ เพราะกลัวสภาพพื้นถนนของการแข่งขัน โดยเฉพาะดินแดนของการท่องเที่ยวยามค่ำคืน ถนนพวกนี้จะมีการสะสมของเศษแก้วแตกเยอะกว่าถนนสัญจรทั่วไป
- เรื่องของขนาดถุงเท้าจะยืดหยุ่นมาก ไม่เหมือนกับการใส่คร่อมไซท์ของรองเท้า ที่คลาดเคลื่อนเพียงนิดก็มีผลต่อการวิ่ง
- การระบายอากาศ ด้วยที่ตัวถุงเท้าเป็นผ้าแบบเดียวกันทั้งชิ้น จะทำให้การระบายลดน้อยลงไป หากเปลี่ยนชิ้นเนื้อผ้าด้านบนให้มีความบางลง จะระบายความร้อนจากฝ่าเท้าได้ดีขึ้น 

   ประเด็นที่ยังเหลือให้ทดสอบต่อไปคืออายุการใช้งานของถุงเท้า เรื่องนี้คงต้องใช้เวลาในการทดสอบพอสมควร แต่ถึงอย่างไรก็ขอขอบคุณที่ให้โอกาสเข้าร่วมทดสอบและขอชื่นชมบริษัท NR Nanofiber Sports ที่สร้างนวัตกรรมดีๆให้กับวงการวิ่งและปั่น ทำให้คนไทยได้มีโอกาสใช้ผลิตภัณฑ์จากคนไทยด้วยกันเอง เป็นกำลังใจให้ทีม NR Nanofiber Sports ในการสร้างสรรนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมแบบนี้ต่อไปครับ